เป็นรุ่น 3 ระบบในตัวคือ 1. เชื่อมธูป 2.Tig DC เชื่อมStainless 3.Tig AC เชื่อมอลูมิเนียม
เป็นรุ่นยอดนิยมใช้งานเชื่อมอลูมิเนียม ใช้งานได้ทนทานใช้งานเชื่อม ท่อเฮดเดอร์อลูมิเนียม หม้อน้ำอลูมิเนียม ฝาสูบเครื่องยนต์ ที่นิยม และมีความทนทานได้ดีเยี่ยม รับประกัน 2 ปี
รีวิวตู้เชื่อมทิกอลูมิเนียม weltig315PACDC
ระบบ Water Cool
ลวดเติมอลูมิเนียม
สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาสำหรับการเลือกใช้ลวดเชื่อมอลูมิเนียม
อลูมิเนียม
(Aluminum).. เป็นโลหะที่มีน้ำหนักเบา.. มีความถ่วงจำเพาะเพียง 2.7 กรัมต่อลูกบาศ์กเซ็นติเมตร.. เมื่อเทียบกับเหล็กที่..มีความถ่วงจำเพาะถึง
7.8 กรัมต่อลูกบาศ์กเซ็นติเมตร... อลูมิเนียมเป็นโลหะ...ที่มีความแข็งแรงสูงเมื่อเทียบกับปริมาตร.. อีกทั้งยังมีความทนทาน...ต่อบรรยากาศได้ดี.. จึงเป็นหนึ่งในโลหะ..สำหรับวงการอุตสาหกรรม...ที่มีการใช้งานหลากหลายในปัจจุบัน... และด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยี...
จึงมีการผสมธาตุต่างๆ... ลงในอลูมิเนียม... ก่อให้เกิดอลูมิเนียมผสม... ที่มีความแข็งแรง...และมีขีดความสามารถ...ในการใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้น... แต่ในขณะเดียวกันการผสมธาตุอื่นๆ... ลงไปเพื่อให้สามารถรองรับ...การใช้งานได้มากขึ้นนั้น... กลับทำให้ประสบปัญหา...เมื่อต้องทำการเชื่อมประสาน...สำหรับอลูมิเนียมผสมบางกลุ่ม...
การเลือกลวดเชื่อม...อลูมอเนียมที่เหมาะสม... จึงเป็นปัจจัยหลักที่...จะทำให้การเชื่อมประสานอลูมิเนียม...ประสบความสำเร็จ... โดยที่ผู้รับผิดชอบ...ด้านการออกแบบ...และกำหนดขั้นตอน...ในการเชื่อมรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง...จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้...และทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้... เนื่องจากลวดเชื่อมอลูมิเนียม...แต่ละเบอร์นั้น... สามารถให้คุณสมบัติ...ที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ...
ภายหลังจากที่ทำการเชื่อม...
โดยทั่วไป
คุณสมบัติทางเชิงกล...
หรือส่วนผสมทางเคมีของลวดเชื่อม.... อีกทั้งลักษณะการใช้งานที่เหมาะสม...ของลวดเชื่อมอลูมิเนียม...แต่ละเบอร์นั้นจะ สามารถสอบถาม...ได้จากผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย
...แต่อย่างไรก็ตาม
... ในส่วนของผู้ใช้งานเองนั้น...ควรมีความรู้ความเข้าใจ...เกี่ยวกับกลุ่มของอลูมิเนียม...ผสมชนิดต่างๆ
..ด้วยเช่นกัน...
เพื่อเป็นพื้นฐาน...สำหรับการเลือกลวดเชื่อม...ให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภท... ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้...
การจัดแบ่งประเภทและกลุ่มของอลูมิเนียม
อลูมิเนียม...และอลูมิเนียมผสม...ได้ถูกจัดกลุ่มโดย...ระบบการกำหนด...ชนิดของโลหะผสม... นานาชาติ...(International Alloy Designation
System; IADS) ซึ่งมีรูปแบบมาจาก...สมาคมอลูมิเนียมของสหรัฐอเมริกา...
[ที่มา:
http://www.substech.com] โดยแบ่งอลูมิเนียม...แต่ละชนิดเป็นรหัสตัวเลข
4 ตัว...สำหรับอลูมิเนียมรูปพรรณ เช่น 2024... หรือ 6063 ...เป็นต้น ส่วนอลูมิเนียมหล่อ...นั้นจะแบ่งกลุ่มด้วยรหัสตัวเลข
4 ตัว...เช่นกันแต่จะมีจุดทศนิยม..คั่นระหว่างตัวเลขหลักที่..
3 และ 4 เช่น
...A356.0 เป็นต้น...
กลุ่มของอลูมิเนียมรูปพรรณที่ใช้
ตัวเลขหลักแรก..ในรหัส
เลข 4 ตัวของอลูมิเนียมรูปพรรณ...นั้นจะบ่งบอกถึง...โลหะผสมหลัก...ที่ผสมลงในอลูมิเนียม.. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ..ในการใช้งาน
ดังนี้
- กลุ่ม 1xxx เป็นอลูมิเนียมบริสุทธิ์.. โดยที่ต้องมีปริมาณอลูมิเนียมอย่างน้อย 99%
- กลุ่ม 2xxx เป็นอลูมิเนียมผสมทองแดง... โดยมีปริมาณทองแดงในช่วง 1.9 – 6.8 %
- กลุ่ม 3xxx เป็นอลูมิเนียมผสมแมงกานีส... โดยมีปริมาณแมงกานีสในช่วง 0.3 – 1.5 %
- กลุ่ม 4xxx เป็นอลูมิเนียมผสมซิลิกอน... โดยมีปริมาณซิลิกอนในช่วง 3.6 – 13.5 %
- กลุ่ม 5xxx เป็นอลูมิเนียมผสมแมกนีเซียม... โดยมีปริมาณแมกนีเซียมในช่วง 0.5 – 5.5 %
- กลุ่ม 6xxx เป็นอลูมิเนียมผสมแมกนีเซียม... และซิลิกอน...โดยมีปริมาณแมกนีเซียม..อยู่ในช่วง 0.4 – 1.5 % และ ซิลิกอนอยู่ในช่วง 0.2 – 1.7 %
- กลุ่ม 7xxx เป็นอลูมิเนียมผสมสังกะสี...โดยมีปริมาณสังกะสีในช่วง 1 – 8.2 %
- กลุ่ม 8xxx เป็นอลูมิเนียมผสมลิเทียม...โดยอาจจะมีปริมาณลิเทียมถึง 2.5 %
- กลุ่ม 9xxx เป็นอลูมิเนียม..ที่ยังไม่มีการกำหนด...โลหะผสม.. สงวนไว้สำหรับการใช้งานในอนาคต..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ฝากข้อความได้ครับ