![]() |
ตัวอย่าง Specification ตู้เชื่อมไฟฟ้า |
ทำให้ผู้ชื้อช่างอย่างเราสับสนและไม่เข้าใจในความหมายของข้อกำหนดตู้เชื่อมได้บทความนี้จะนำเสนอให้ท่านรับทราบเป็นเบื้องต้น เป็นภาษาแบบช่าง ๆ ที่เข้าใจได้ง่าย ไม่ขออิงวิชาการมากนัก หากท่านใดต้องการแบบวิชาการที่ตรง 100 % รบกวนค้นหาทาง google เอาเองละกันเพราะพี่กลู เราเก่งครับ ใน Specification ของตู้เชื่อม ดังนี้
-แรงดันไฟฟ้า (Input Power) 220Vac +-10 %Volt
เป็นการบอกเราว่าตู้เชื่อมนี้ใช้ไฟฟ้า บ้าน ๆ เรานิเอง คือการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 220Vac. หากไฟฟ้าตกไม่ตำกว่า 198 Vac และหากไฟฟ้าเกินก็ำไม่ควรเกิน 242 Vac. แล้วเครื่องจะทำงานโดยปกติ แล้วหากไฟตกมากกว่าหรือไฟเกินละ อะไรจะเกิดขึ้นกับตู้เชื่อมไฟฟ้าของเรา ผมขอเดาได้เลยว่าเครื่องเชื่อม ก็จะหยุดการทำงาน เพราะภายในตู้เชื่อมระบบอินเวอร์เตอร์นั้น จะมีวงจรระบบป้องกันไฟฟ้าเกินหรือไฟฟ้าตกอยู่แล้วทุกตัวครับ
- ความถี่(Frequency) 50/60 Hz
เป็นตัวบอกให้เราทราบว่าเครื่่องรุ่นนี้สามารถใช้ไฟฟ้าระบบ Ac มาตรฐานความถี่ที่ 50 Hzและ 60Hz. แล้วความถี่คืออะไรละ คำตอบคือรอบการขึ้นลงของไฟฟ้าในเวลา 1 วินาที แล้วช่าง ๆ อย่างเรา วัดได้มั๊ยผมว่าวัดได้ แต่เครื่องมือวัดนั้นอาจจะแพงกว่าตู้เชื่อมที่เราจะซื้อ แล้วช่างอย่างเราจะไปวัดความถี่ทำซากอะไรละเน้อ ไฟฟ้าบ้านเรามีความถี่ Frequency ที่ 50 Hz. แล้วถ้าความถี่ทางไฟฟ้ามากกว่าหรือน้อยกว่านี้ละมีผลกับเครื่องมั๊ย ผมเดาได้เลยว่าเครื่องเชื่อมจะหยุดทำงาน และหากยังดุดันใช้งานตู้เชื่อมต่อจะทำให้เครื่องเชื่อมเราเสียหายได้ครับ แล้วความถี่ที่จะเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นอย่างไร สำหรับมาตฐานของ การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) และ กฟภ. แล้วความถี่จะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะมีมาตรฐานสูงกว่า เว้นแต่ความถี่ที่ได้จากเครื่องปั่นไฟที่เราเห็น ๆ ใช้กันรอบการขึ้นลงของไฟฟ้ามาจากความเร็วของเครื่องยนต์ปั่นไฟ จะไม่ได้มาตฐาน 50 /60 Hz. เราจะเห็นว่าเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์มั๊กจะใช้งานไม่ได้ หรือเชื่อมไม่ดีเวลาไปใช้กับเครื่องปั่นไฟทั่วไป บทความนี้ขออธิบาย 2 ตัวนี้ควาวหน้ามาต่อส่วนที่เหลือกันละกัน ขอไปโฆษณาทำมาหากินก่อนน่ะครับ หุ หุ
ไม่มีความคิดเห็น:
โพสต์ความคิดเห็น
ฝากข้อความได้ครับ