กำลังไฟฟ้าที่จ่ายในขณะไร้ภาระ (No-Load Loss)
บทความที่ผ่านมา ร้านสหวนิชได้ลองอธิบายความหมายของ Specification ของตารางเครื่องเขื่อมไฟฟ้า ที่แนบมากับ Catalog แบบภาษาช่าง ๆ โดยไม่เน้นวิชาการมากนักเพื่อสื่อให้ท่านที่มีเครื่องเชื่อม หรือตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์อยู่แลัว หรือกำลังจะตัดสินใจซื้อเครื่องเชื่อมยี่ห้อไหนดี หรือตู้เชื่อมขนาดพกพาแบบไหนดี ได้รับทราบว่าตู้เชื่อมไฟฟ้ามีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความตอบรับจากกท่านผู้เข้ามาอ่านและชื่นชม และมีบางท่านได้ติชมพร้อมให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ ร้านสหวนิช ขอขอบคุณทุกท่าน ณ ที่นี้ด้วย
คุณสมบัติ ที่ได้อธิบายที่ผ่านมา (Specification)
กำลังไฟฟ้าที่จ่ายในขณะไร้ภาระ (No-Load Loss)
 |
Specification Inverter welding |
ตามที่โรงงานยัดหัวข้อ No-Load Loss เข้ามาในสเปกเพื่อให้ ว่าที่ช่างเชื่อมอย่างเราได้รับทราบ และประกอบการตัดสินใจซื้อเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ แล้วไอ้หัวข้อนี้มีประโยชน์กับช่างเชื่อมอย่างไหร่หว่า ร้านสหวนิชขอเดาว่าความหมาย กำลังไฟฟ้าที่จ่ายในขณะไรภาระนี้ มีความหมายใกล้เคียงกับหัวข้อ
No-Load Voltage เพียงแค่หน่วยความหมายแรงดันไฟ กับกำลังไฟ แล้วมันมีประโยชน์กับเราอย่างไรหว่า เอาน่าเมื่อโรงงานตู้เชื่อมยัดหัวข้อนี้มาแล้วมันก็มีประโยชน์กับเราคือ มันทำให้เราทราบว่าในขณะที่เราใช้งานตู้เชื่อมรุ่นนี้อยู่ แต่ยังไม่ได้เชื่อม เครื่องรุ่นนี้กินไฟฟ้าเป็นเท่าใด หรือกี่วัตต์ ตัวอย่างใน Specification No-Load Loss ให้ค่ามา 40 Watt. ทำให้เรารู้ว่าเครื่องรุ่นนี้ในขณะเปิดเครื่องรอเชื่อมกินไฟฟ้าใกล้เคียงหลอดไฟนีออนยาวที่ติดบ้านเรานี้เองครับราสามารถหาค่ากระแสไฟได้จากสูตร
(แอมป์ = วัตต์ / โวลท์) แทนค่าก็จะไำด้ 40Watt / 56 Volt = 0.71 Amp. โห้อินเวอร์เตอร์นี้กินไฟฟ้าน้อยจริง ๆ เมื่อเทียบกับตู้เชื่อมรุ่นหม้อแปลง อิ อิ อิ เหมือนเช่นเคยครับ ขออนุญาตไปโฆษณาทำมาหากินก่อนครับ คราวหน้ามาต่อส่วนที่เหลือครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
โพสต์ความคิดเห็น
ฝากข้อความได้ครับ